วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

Tenses

ยินดีต้อนรับสู่ 12 Tenses ที่แสนจะง่ายๆเอง

ก่อนเข้าสู่บทเรียนเรื่อง Tense ทั้ง 12 คุณได้ศึกษาไวยากรณ์พื้นฐานแล้วหรือยัง เพราะตัวพื้นฐานดังกล่าวถ้าเปรียบดังตึกคือชั้นล่าง ถ้าพื้นฐานแน่นแล้ว การเรียนเรื่อง tense ก็จะง่ายมากๆ ขอบอก
แต่ถ้าศึกษาแล้วก็เตรียมตัวเรียนกันเลยครับ แต่ต้องพึงระลึกว่า โครงสร้างทางภาษาบางทีต้องท่องจำเหมือนสูตรคูณ แต่ถ้าเราคล่องแล้วมันก็จะง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากนั่นแหละ ซึ่งเราก็จะรู้อัตโนมัติว่าโครงสร้างนี้ คือ Tense อะไร เพราะเวลาแปล จะได้แปลถูก และรู้เรื่อง
เรื่อง tense ก็คือเรื่องของเวลา หมายความว่าเวลาที่เราจะพูดอะไรสักอย่างจะมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เพราะตัวเวลานี้แหละที่ทำให้โครงสร้างประโยคเปลี่ยนไป เช่น อ่านเพิ่มเติม

ห้า tenses ที่ใช้บ่อย



ห้า tenses ที่ใช้บ่อย
Present simple, present continuous, past simple, present perfect และ future simple คือ tenses ที่ใช้บ่อยมากทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน ดังนั้น จึงขอ
ให้ท่านผู้อ่านหมั่นทบทวน tense ทั้ง 5 tenses นี้ให้เข้าใจเป็นอันดีก่อนที่จะไปศึกษาอีก
7 tenses ที่เหลือ [tenses(B)]



1. PRESENT SIMPLE TENSE


The trick of using Present Simple is ‘fact’, so thing that is
true in your thought or in everyday life or in nature is present
simple.

กลเม็ดหรือกุญแจของการใช้ present simple ก็คือ ‘ข้อเท็จจริง’ ดังนั้น:

๑. เหตุการณ์อะไรก็แล้วแต่ที่ตัวผู้ใช้เองคิดว่าเป็นจริง

๒. ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นปกติวิสัย (usually) เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ (always) เกิดขึ้นบ่อยๆ (often) หรือข้อเท็จจริงที่เป็นจริงเสมอ (truth)

ทั้งหมดนี้ เราใช้ในรูปของ present simple ได้ทั้งสิ้น ดังนี้ อ่านเพิ่มเติม



Gerund (v-ing)

  Gerund (v-ing)  
Gerund คือ คำกริยา + ing หรือ v-ing
Gerund มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับ present participle แต่ทำหน้าที่ต่างกัน นั่นคือ present participle ทำหน้าที่เป็น ‘predicative adjunct’ และ ‘คุณศัพท์’ ส่วน
gerund ทำหน้าที่เป็น ‘คำนาม’
เมื่อ gerund เป็น ‘คำนาม’ gerund จึงทำหน้าที่ได้ดังต่อไปนี้


1. ใช้เป็นประธานของประโยค

2. ใช้เป็นกรรมของบุพบท

3. ใช้เป็นกรรมของคำกริยา vt

4. ใช้ตามหลัง verb to be เพื่อแสดงตัวตนของประธาน (subjective comple-ment) อ่านเพิ่มเติม

Infinitive with to


ตำแหน่งของ Infinitive with to ในประโยคต่างๆ
1. ใช้ทำหน้าที่เป็นคำนามซึ่งเป็นประธานของประโยค โดยมีความหมายว่า “การ” หรือ “ความ”


To be a millionaire is my goal. (การได้เป็นเศรษฐีเป็นเป้าหมายของฉัน)

2. ใช้ตามหลังคำนาม หรือ สรรพนาม โดยทำหน้าที่คล้ายกับ Adjective ขยาย คำนาม หรือ สรรพนามนั้นๆ

I told him about the plan to surprise her. (ฉันบอกเขาเกี่ยวกับแผนการที่จะทำให้เธอประหลาดใจ)
I have something to tell you. (ฉันมีบางอย่างจะบอกคุณ)

3. ใช้ตามหลัง Main verb (กริยาแท้) โดยทำหน้าที่คล้ายกรรมของประโยค

I want to see him. (ฉันต้องการจะเจอเขา

4. ใช้ตามหลัง Adjective บางตัว โดยทำหน้าที่คล้ายกับ Adverb

I’m happy to meet you again. (ฉันรู้สึกมีความสุขที่ได้พบกับคุณอีกครั้ง อ่านเพิ่มเติม

ความหมายและหลักการใช้ Infinitive without “to”Infinitive without “to” คือกริยาช่องที่ 1 ที่ไม่มี to นำหน้า มีลักษณะการใช้คือ

1. ใช้ตามหลังกริยาช่วย (auxiliary verb) จำพวก can, could, do, did, may, shall, should, will, would, must, need, dare etc. เช่น

– You must come with us. (คุณจะต้องไปกับพวกเรา)

– Did you hear a noise? (คุณได้ยินเสียงนั่นหรือเปล่า)

– He daren’t leave her. (เขาไม่กล้าพอที่จะปล่อยเธอไป) อ่านเพิ่มเติม

If Clause

If Clause

If Clause หรือ Conditional Sentence แบ่งได้ 4 รูปแบบ ดังนี้



1. Zero Condition : เรียกว่า Pesent Real ใช้นำเสนอ ความจริงหรือเป็นเหตุเป็นผลหรือธรรมชาติ

If + Subject + v1 , Subject + v1
Example: If I travel abroad, I take my passport.


2. First Condition : เรียกว่า Future Possibility ใช้นำเสนอ ความจริงหรือเหตุการณ์ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิด(ในอนาคต)
If + Subject + v1 , Subject + will + v1
Example: If it rains later, we'll get wet. อ่านเพิ่มเติม